วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

แสดงความคิดเห็น ผลสำรวจวัยรุนไทยแชมป์ฮัลโหลในเอเชีย

ก็จริงนะครับที่วัยรุนไทยมีการคุยโทรศัพท์ในแต่ละวันในอัตราเฉลี่ยที่สูงมาก
ไม่ว่าจะคุยกับครอบครัว เพื่อนและรวมไปถึงแฟน แต่ทั้งหมดนี้เนื่องจากวัยรุ่น
บางคนไม่ได้อยู่บ้านแต่ต้องออกไปศึกษาต่อไกลบ้านหรือทำงาน จึงต้องมีการ
ติดต่อถามความเป็นอยู่ของครอบครัว และเพื่อนว่าเป็นอย่างไรบ้างสบายดีหรือเปล่า
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ ความเป็นอยู่จึงใช้เวลาในการคุยที่นานพอสมควร
แต่การใช้โทรศัพท์ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง ฟังวิทยุ ถ่ายภาพและบันทึกวีดีโอนั้น
ผมคิดว่าก็เป็นสิ่งที่ดีนะครับ เพราะว่าบางคนก็ทำงานด้วยฟังเพลงไปด้วยก็ทำให้
มีอารมย์ดีและทำงานได้ดีด้วย ในเรื่องของการถ่ายภาพและบันทึกวีดีโอนั้น
เพื่อต้องการที่จะบันทึกความทรงจำที่ได้ไปที่ต่างๆรวมทั้งประสบการณ์ที่ได้ทำในตอนนั้นด้วย
แต่ทั้งนี้ผมว่าจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับคนที่ใช้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามโทรศัพท์ก็คือสิ่งที่ดีสำหรับคนไทยทุกคนครับ



นายนภสิทธิ์ ปรากฎเลิศ เกษตรศึกษา-พืชสวน 3/1 เลขที่ 2

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10

วิธีใช้สารานุกรม
สารานุกรมทุกชนิดจะเรียงลำดับตามตัวอักษรของเนื้อเรื่องทุก ๆ บทความ และมีส่วนต่างๆ ที่ช่วยให้เราค้นหาเรื่องที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว คือ
1. มี VOLUME GUIDE คือตัวแนะหรือตัวช่วยค้น
2. มีดรรชนีช่วยในการค้นหาเรื่องที่เราต้องการ มักจะอยู่ท้ายเล่มของทุกเล่ม หรือมี ดรรชนีรวมอยู่เล่มสุดท้ายของชุด
3. บทความหรือหัวข้อเรื่องที่มีชื่อประกอบหลายคำให้ใช้คำแรกเป็นหลัก
4. หัวเรื่องที่มีคำย่อให้ดูที่คำเต็ม เช่น Mt. Everest ให้ดูที่ Mount Everest
5. สำหรับสารานุกรมภาษาอังกฤษเมื่อต้องการหาเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลให้ดูที่ชื่อสกุลหรือชื่อสุดท้ายเป็นหลัก

ประโยชน์สารานุกรม
หนังสือสารานุกรมใช้ในการตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไป โดยให้คำอธิบายอย่างกว้าง ๆ ทุกแขนงวิชา ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าหาความรู้พื้นฐานทั่วไป

ขอบคุณสารานุกรมความรู้จาก สคูลดอทเน็ตดอททีเอช และ วิชาการดอทคอมครับ แปลงต้นฉบับให้น่าอ่านโดยช่างสรรหา

คะแนนความนิยม: 9%

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (โดยย่อ)

คำปรารภ (ย่อ)
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ให้ไว้เมื่อ ๑๐ ธ.ค.๙๘ มีใจความว่าปัจจุบันมีความรู้มากอย่างที่ควรจะรู้ ถ้าไม่มีตำรับตำราสำหรับย่นเวลาในการศึกษาเล่าเรียนแล้ว กว่าจะรู้อะไรสักอย่างต้องเสียเวลาค้นมาก ถ้าเรามีหนังสือสารานุกรมอยู่ จะเปิดดูได้ทีเดียวไม่เสียเวลาค้นหาในหนังสือต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้นานาอารยประเทศจึงได้ทำหนังสือสารานุกรมซึ่งบรรจุความรู้แทบทุกสาขาวิชาไว้ เพื่อให้พลเมืองของเขาศึกษาค้นคว้าได้ง่ายไม่เสียเวลา
คำนำ (ย่อ)
การทำสารานุกรมนี้ราชบัณฑิตยสถานได้เคยเริ่มดำเนินการจัดทำมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ แต่ต้องหยุดชะงักลง ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๙๗ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในตำแหน่งบังคับบัญชา ราชบัณฑิตยสถาน ได้เสนอให้ราชบัณฑิตยสถานวางโครงการจัดทำสารานุกรมขึ้นใหม่
สารานุกรมเป็นหนังสือ จัดอยู่ในประเภทหนังสือสำหรับค้นเช่นเดียวกับพจนานุกรม วัตถุประสงของการจัดทำหนังสือก็คือ ประการแรก จะต้องอธิบายอย่างย่อ ๆ และเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้อ่านซึ่งแม้จะไม่มีความรู้พิเศษเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ก็สามารถเข้าใจได้ทันที ประการที่สอง โดยมากมักจะมีการจัดระเบียบด้วยการเรียงลำดับตัวอักษร หรือไม่ก็โดยวิธีอื่นใดที่จะทำให้ผู้อ่านค้นหาได้สะดวกและรวดเร็ว
สารานุกรมมุ่งไปในทางที่จะอธิบายเรื่องราวของสิ่งต่าง ๆ และความคิดของตน ซึ่งบางเล่มก็อธิบายทุก ๆ เรื่องที่สามารถอธิบายได้ บางเล่มก็อธิบายเฉพาะเรื่อง เฉพาะวิชา
ในขั้นแรกนี้ จะจัดทำเป็นเรื่องขนาดเล็ก บรรจุคำถามที่เห็นสมควรเลือกเป็นคำตั้งมีข้อความอธิบายย่อบ้าง พิศดารบ้าง ตามสมควรแก่เรื่องในคำนั้น ๆ เพื่อเป็นการวางรากฐานไว้คราวหนึ่งก่อน ต่อไปอาจขยายเป็นขนาดใหญ่และพิศดารยิ่งขึ้น
เรื่องที่จะนำมาอธิบายนั้น อยู่ในขอบเขตหัวข้อดังต่อไปนี้
๑. บุคคลสำคัญ
๒. เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวของโลก
๓. ประเทศ ภูมิภาค นคร เมือง ฯลฯ
๔. เรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์
๕. เชื้อชาติของมนุษย์
๖. นิยายโบราณ
๗. ศาสนา
๘. ปรัชญา
๙. ลัทธินิกายต่าง ๆ
๑๐. หนังสือสำคัญของโลก
๑๑. ตำนานและนิทานต่าง ๆ
๑๒. ตัวสำคัญที่มีอยู่ในเรื่องวรรณคดี
๑๓. สังคมและการเมือง
๑๔. ครอบครัวที่สำคัญ
๑๕. สถาบันต่าง ๆ (สิ่งที่ตั้งขึ้นเป็นขนบประเพณีหรือเป็นสถานที่เกี่ยวกับการปกครอง วิทยาการ สังคม เป็นต้น)
๑๖. วันหยุดงานและพิธีรีตอง
๑๗. วิทยาศาสตร์ ศีลธรรม และวัฒนธรรม (วรรณคดี ศิลปกรรม)
๑๘. เศรษฐกิจ