วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

กำเนิดสารานุกรมไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า การเรียนรู้ในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่าง ๆ โดยกว้างขวาง เป็นเหตุให้เกิดความรู้ ความคิด และความฉลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับชีวิต ช่วยให้บุคคลสร้างประโยชน์สุข สร้างความเจริญมั่นคงให้แก่ตนเอง ทั้งแก่สังคมและบ้านเมืองอันเป็นที่พึ่งอาศัยได้ ทุกคนจึงควรมีโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ได้ตามความประสงค์และกำลังความสามารถโดยทั่วกัน
ทรงพระราชดำริว่า หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนงเมื่อมีความต้องการหรือความพอใจเรียนรู้เรื่องใดก็สามารถค้นหาอ่านทราบโดยสะดวก นับว่าเป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาเพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคัญ โดยเฉพาในยามที่มีปัญหาการขาดแคลนครู และที่เล่าเรียน เช่นขณะนี้ หนังสือสารานุกรมจะช่วยคลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างดี จึงมีพระราชดำรัสให้ตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ซึ่งดำเนินการสร้างหนังสือสารานุกรมฉบับใหม่อีกชุดหนึ่ง มีความมุ่งหมายทางวิชาการแขนงต่าง ๆ ที่ควรศึกษา ออกเผยแพร่แก่เยาวชนให้แพร่หลายทั่วถึง เพื่อเยาวชนจักได้หาความรู้ช่วยตัวเองได้จากการอ่านหนังสือ และเพื่อให้ได้ประโยชน์อันกว้างขวางยิ่งขึ้น ทรงกำหนดหลักการทำคำอธิบายเรื่องต่าง ๆ แต่ละเรื่อง เป็นสามตอนหรือสามระดับสำหรับให้เด็กรุ่นเล็กอ่านเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง สำหรับเด็กรุ่นกลางอ่านเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง และสำหรับเด็กรุ่นใหญ่รวมถึงผู้ใหญ่ผู้สนใจอ่านได้อีกระดับหนึ่ง

อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/wiki

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7



หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประมวลพระราชจริยาวัตร พระราชกรณียกิจ และพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและอาณาประชาราษฎร์
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
๑. ธรรมิกราชา
๒. พระปรีชาสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
๓. เศรษฐกิจพอเพียง
๔. กษัตริย์-เกษตร

๕. พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
๖. พระปรีชาสามารถด้านการพัฒนาปัญญา
๗. อัครศิลปิน
๘. พระราชกรณียกิจด้านการสืบสานวัฒนธรรมและขนบประเพณี
๙. สังคมสมานฉันท์

หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีทั้งหมด ๖๐ เรื่องโดยแบ่งเป็น ๙ หมวด คือ

หมวดที่ ๑ พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญ
หมวดที่ ๒ พระราชวงค์
หมวดที่ ๓ องค์กรและส่วนราชการ
หมวดที่ ๔ มูลนิธิ ทุน รางวัล และโรงเรียน
หมวดที่ ๕ พระราชสถานะและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
หมวดที่ ๖ ราชธรรมและพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา
หมวดที่ ๗ พระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบัน
หมวดที่ ๘ พระบรมราชสัญลักษณ์และเรื่องราวเกี่ยวข้อง
หมวดที่ ๙ เบ็ตเตล็ด

อ้างอิงจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/GENERAL/encyclopedia/saranugrom.htm

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่6


วิธีใช้สารานุกรม
1. พิจารณาว่าเรื่องที่ต้องการเป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ที่เป็นเรื่องเฉพาะวิชา
2. เลือกใช้สารานุกรมให้ถูกกับเรื่องที่ต้องการ
3. เปิดดูดรรชนี เพื่อดูว่าเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ในเล่มไหน หน้าเท่าไร โดยพิจารณาให้ถูกกับลักษณะของสารานุกรม เช่น
3.1 เปิดดูดรรชนีท้ายเล่ม (สารานุกรมสำหรับเยาวชนและสารานุกรมบางชุดดรรชนีอยู่ด้านหน้า)
3.2 เปิดดูดรรชนีที่เล่มสุดท้ายของชุด (สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่และสารานุกรมบางชุดอยู่ท้ายเล่ม)
4. ดูอักษรนำเล่ม หรือคำแนะที่สันหนังสือ เพื่อดูว่าเรื่องที่ต้องการอยู่เล่มใด
5. ก่อนใช้สารานุกรมแต่ละชุดควรอ่านใช้เป็นลำดับแรก แล้วจึงค้นหาเรื่องที่ต้องการ
อ้าอิงจาก สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.
พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:ศิลปาบรรณาคาร.

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่5


ประเภทของสารานุกรม
1. แบ่งตามขอบเขตเนื้อหาวิชา
1.1 สารานุกรมทั่วไป (General Encyclopedias) สารานุกรมทั่วไป ได้แก่ สารานุกรมที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงวิชา มีทั้งให้ข้อมูลละเอียด และอย่างสังเขป อธิบายเรื่องราวเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้เยวกับศาสตร์ทุกแขนงของมวลมนุษย์ตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน
1.2 สารานุกรมเฉพาะสาขาวิชา (Subject Encyclopedias) ได้แก่ สารานุกรมที่รวบรวมความรู้สาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือ รวบรวมเรื่องราวแขนงใดแขนงหนึ่งโดยเฉพาะ
2. แบ่งตามระดับอายุของผู้ใช้
2.1 สารานุกรมสำหรับเยาวชน จะใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บทความมีขนาดกระทัดรัด จบสมบูรณ์ในตัวเอง มีภาพประกอบเป็นจำนวนมาก
2.2 สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ คือ สารานุกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้จะละเอียดและลึกซึ้งกว่า สารานุกรมสำหรับเยาวชน
3. แบ่งตามจำนวนเล่ม สามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท
3.1 สารานุกรมหลายเล่มจบ บางครั้งเรียกสารานุกรมประเภทชุด ตัวอย่างเช่น สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน
3.2 สารานุกรมเล่มเดียวจบ เป็นสารานุกรมที่ให้ข้อเท็จจริงอย่างย่อ ๆ บทความมีขนาดกระทัดรัด เหมาะสำหรับใช้ตอบคำถามที่ต้องการตอบทันที จัดเรียงตามลำดับอักษรแบบพจนานุกรม ไม่มีดรรชีค้นเรื่อง
วิธีใช้สารานุกรม

1. พิจารณาว่าเรื่องที่ต้องการเป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ที่เป็นเรื่องเฉพาะวิชา
2. เลือกใช้สารานุกรมให้ถูกกับเรื่องที่ต้องการ
3. เปิดดูดรรชนี เพื่อดูว่าเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ในเล่มไหน หน้าเท่าไร โดยพิจารณาให้ถูกกับลักษณะของสารานุกรม เช่น
3.1 เปิดดูดรรชนีท้ายเล่ม (สารานุกรมสำหรับเยาวชนและสารานุกรมบางชุดดรรชนีอยู่ด้านหน้า)
3.2 เปิดดูดรรชนีที่เล่มสุดท้าย
อ้างอิงจาก www.thaihealth.net ›

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่4

ประโยชน์ของสารานุกรม

1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลค้นหาคำตอบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงได้ทุก ๆ แขนงวิชา
2. ข้อเท็จจริงในหนังสือสารานุกรมเชื่อถือได้ เพราะเป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ
3. ใช้เป็นแหล่งศึกษาพื้นฐานความรู้ในเชิงประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการของศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ
4. ได้ความรู้ที่ทันสมัยเพราะมีการปรับปรุงเนื้อหาทุก ๆ ปี
5. ผู้ใช้สามารถค้นหาคำตอบได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะมีเครื่องมือช่วยค้น คือดรรชนี (Index)
6. ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพราะมีการจัดเรียงลำดับเนื้อเรื่องอย่างมีระเบียบ
7. ใช้เป็นคู่มือของบรรณารักษ์ในการบริการตอบคำถามได้เป็นอย่างดี
อ้างอิงจากhttp://lib.kru.ac.th